Python นะหรออีซี่ๆ มาเรียนกันเถอะ part 1 (Variable)
สำหรับบทความนี้ก็จะมาพาทุกคนมาเรียน python กัน ผู้เขียนก็ไม่มีอะไรมากแค่ต้องการให้ผู้ที่ (หลง) เข้ามาอ่านได้เข้าใจพื้นฐานการเขียนโปรแกรมด้วยไพธอน โดยผู้เขียนจะพยายามเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจที่สุดดดดดด (เนื้อหาในบล็อคนี้อาจใช้ภาษาแปลกๆ ฮ่าๆ) ที่มี part เพราะจะได้แยกอ่านสั้นๆอ่านง่ายๆนะครับ (เจ้าของบล็อกขี้เกียจฮ่าๆ)
ติดติ้ง python
อย่างแรกที่ต้องทำคือเปิด google เลยครับฮ่าๆ เพราะวิธีติดตั้งนี้มีเต็มเลยใน google การเขียนโปรแกรมถ้าเราใช้อากู๋ของเราให้เป็นรับรองมีชัยไปกว่าครึ่งครับ สู้ๆ ถ้าใครคิดไม่ออกก็มีคีย์เวิร์ดให้ครับ “วิธีติดตั้ง python” หรือ “How to install python” ก็ได้เหมือนกัน python ที่ใช้จะเป็น python 3 นะครับ syntax อ่านง่ายดี
มาเริ่มกันกับ Hello …
ฮัลโหล … เจอบ่อยมากๆเลยกับไอ้ฮัลโหลเนี้ยยย (ขออภัยกับคำหยาบคาย) เริ่มเขียนโปรแกรมแรกก็ฮัลโหลเลย แต่ก็ว่าแหละถ้าเป็นพวกหนังสือโค้ดดิ้งเก่าๆหน่อยก็จะเจอพวกนี้ฮ่า เอาละไม่ให้เสียเวลามาเริ่มโปรแกรมแรกกันดีกว่า
print("Hello, Whatever you want")
นี้ไงได้แล้วหนึ่งโปรแกรมฮ่าๆ ฮัลโหลอะไรก็ได้โตแล้ว อันนี้พื้นฐานจริงๆทุกคนคงเข้าใจ เอาละมาซีเรียลกันเถอะ ฟาม! ซีเรียสสิ
ตัวแปร ตัวแปร ตัวแปร (Variable)
ตัวแปรคืออันไรหรอ งงเด้ๆ งงๆ ตัวแปรก็คือ “จำนวนจริงหรือจำนวนเชิงซ้อนที่มีค่าได้หลาย ๆ ค่าในช่วงหรือเซตที่กำหนดให้” อ้างอิง http://www.royin.go.th ตามนั้นละครับ อะไรว่ะยิ่งอ่านยิ่งงง งั้นเอาใหม่ๆ ตัวแปรก็คือตัวแทนที่มีไว้เพื่อกำหนดค่าให้มันนั้นเอง เอ๊ะ! งงใช่ไหม คนเขียนก็งงเหมือนกัน งั้นดูนี้
number = 1
print(number)
number = 2
print(number)
จากโค้ดคำสั่ง print แรกจะปริ้นเป็น 1 และ print สองจะเป็น 2 มันก็เหมือนกับว่าแทนค่า number ใหม่นั้นละ เอาละมาพูดชนิดตัวแปรในไพธอนกันดีกว่า
Number คือชนิดข้อมูลที่เป็นตัวได้แก่ 1, 1.1, 2, 2.34, 3, 100, 1000, 100000 เป็นต้นและ Number ยังแยกย่อยไปอีกนะได้แก่ int คือจำนวนเต็ม float คือจำนวนทศนิยม และไพธอนยังมีชนิดข้อมูลอีกอย่างคือ complex คือจำนวนเชิงซ้อนนั้นเอง (จะไม่พูดถึงกลับชนิดข้อมูลนี้มากเพราะไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่) สำหรับตัวแปรที่ใช้บ่อยๆก็ int กับ float นี้แหละ สำหรับวิธีการใช้ก็ง่ายๆแค่พิมไปเลยเท่านั้นเอง เช่น
intNumber = 10 #เป็น int ละ
floatNumber = 10.01 #เป็น float ละ
อีซี่มากๆ เห็นไหมเอาละไปพบกับชนิดของตัวแปรต่อไปกัน
String คือชนิดตัวแปรที่ไว้เก็บตัวอักษรโดยจะเก็บเป็นชุด (ในภาษาคอมพิวเตอร์พวกตัวอักษรเนี้ยก็เป็นชนิดตัวแปรหนึ่งเหมือนกันเรียกว่า char แต่ถ้าใครสนใจก็ลองหาในอากู๋ดู) ในไพธอนสะดวกอย่างหนึ่งก็คืออะไรที่เป็นตัวหนังสือก็เป็น string หมดไม่มีตัวแปรอื่นให้ยุ่งอยาก เอาละงั้นเรามาประกาศตัวแปรกัน
name = "Aof" #ชื่อตัวแปรนี้ว่า name มีค่าว่า "Aof"
studentNumber = "44911" #อันนี้ก็ string นะเอ่อทำไมนะหรอเพราะ "" ไง
การประกาศตัวแปรชนิด string ต้องมี “” (double quote) หรือ ‘’ (single quote) ด้วยนะเพื่อบอกว่ามันคือ string นะครับ (โดยทั่วไปแล้วพวก string จะเป็น “” มากกว่า ‘’ จากความถนัดล้วนๆ) เอาละมาดูตัวชนิดตัวแปรต่อไปกันดีกว่า
List เก็บให้เป็นชุด โดยตัวแปรชนิดนี้จะเก็บข้อมูลที่ต้องการให้เป็นกลุ่มๆก้อนๆความพิเศษของมันเราสามารถเก็บทั้ง int, float, string ให้อยู่รวมกันได้ว้าววววไหมละ (ว้าวยังไงก็ลองไปถามอากู๋ดูนะฮ่าๆ ) สำหรับการประกาศก็ตามนี้เลย
myBestFriendsName = ["bob", "peter", "adam"] #string ล้วนๆ
a = [1, 2, 3, 4, 5] #เก็บแค่ตัวเลขนะครับ
b = ["computer", 4.0, 4, "new world"] #เก็บตัวแปรหลายๆชนิดรวมกัน
นี้แหละคือความสามารถของ list เจ๋งปะละเก็บง่ายๆวิธีใช้แล้วค่อยว่ากันอีกทีต้องไปเลยละกัน
Tuple นี้ก็คล้ายกับ list มากแต่ว่าการเก็บใน tuple จะไม่สามารถเพิ่มหรือลดข้อมูลได้ประมาณว่าเรามีอะไรก็ใช้แค่นั้นไม่เหมือน list
myBestFriendsName = ("bob", "peter", "adam") #เหมือนกันไหมต่างกันแค่ [] เป็น ()
a = ("a", "b", 1, 1.0) #เหมือนกันเลยเห็นไหม
ส่วนวิธีที่เราจะเอาไปใช้ทำอะไรบ้างเดียวค่อยว่ากันอีกที
Dictionary มาเก็บข้อมูลเป็นชุดๆกันเถอะ การเก็บข้อมูลชนิดนี้ก็เหมือนกับการจัดประเภทสินค้านั้นละคือจะมี tag และก็ค่าโดยรูปแบบจะเป็นแบบนี้ key:value
snack = {'name':'lay', 'price':5} #การประกาศตัวแปรนี้
food = {'name':'Som Tum', 'price':30} #อีกอัน
color = {'color':'red' 'feel':'strong'} #เราใช้ชื่อ key เป็นอะไรก็ได้นะครับ
กฎข้อการประกาศตัวแปร dictionary ก็คือ “ห้ามคีย์เหมือนกันเด็ดขาด” แต่ตัวแปรจะซ้ำกันยังไงก็ตามสะดวกเพราะคีย์จะเป็นตัวเข้าไปหาข้อมูลของเราส่วนวิธีการใช้เดียวค่อยว่ากันพาร์ทต่อไป
ตัวอย่างนิดๆหน่อย
ลองเอาโค้ดนี้ไปรันดูนะอยากให้ลองได้เล่นดูถ้าอ่านเฉยๆไม่ลงมือทำไม่ก็ไม่เกิดผลใช่ไหมละ (ห้ามก๊อปวางนะเออ)
number = 1
myMoney = 100.50
myName = "uvuvwevwevwe onyetenyevwe ugwemuhwem osas"
myColor = ["red", "green", "blue"]
startPosition = (10, 10)
university = {'name':'KhonKaen University', 'place':'KhonKaen'}print(number)
print(myMoney)
print(myName)
print(myColor)
print(myColor[0])
print(startPosition)
print(startPosition[0])
print(startPosition[1])
print(university)
print(university['name'])
print(university['place'])
ลองเอาไปรันดูนะครับแล้วลองสังเกตุความแตกต่างดูว่าแต่ละตัวมันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ใครที่อ่านมาถึงนี้แล้วก็คงจะสงสัยว่าไอ้ตัว # มันคืออะไร ที่จริงแล้วมันก็คือการ comment ยังไงละ การคอมเมนต์คืออะไรก็ตามตัวนั้นแหละครับมันคือการแสดงให้ให้ว่าโค้ดที่เราทำนั้นคืออะไรเผื่อกันลืมในภายภาคหน้าตอนกลับมาแก้โค้ดอีก เราสามารถแทรกคอมเมนต์ตรงไหนก็ได้เลยในโค้ดเรา (ดีสุดก็หลังบรรทัดโค้ดเรากับที่ว่างๆจะดีที่สุดนะ)
"""
คอมเมนต์หลายบรรทัดนะครับ
ทดสอบ
"""
#อันนี้บรรทัดเดียวนะครับห้ามเกินหลายบรรทัด
ท้ายนี้ก็ขอฝากไว้ด้วยนะครับ ในพาร์ทต่อไปซึ่งจะพูดถึงเกี่ยว operator ต่างๆใน python แล้วพบกันใหม่ในพาร์ทต่อไปกับ “Python นะหรออีซี่ๆ มาเรียนกันเถอะ”